วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สังคมการเมืองไทยวันนี้( 14 พฤษภาคม 2557 )

สวัสดีครับคนไทยที่น่ารักทุกท่าน ก็ห่างหายไปนานกับการเขียนบล็อก เพราะสมัยเปลี่ยนไปเป็นเว็บไซต์ เฟสบุ๊ก ไลน์ การสื่อสารสองทางที่ทันสมัยขึ้น แต่คนเก่าเอกประวัติศาสตร์ยังไม่มีเว็บไซต์ ขอบันทึกประวัติศาสตร์ไว้บนบล็อกนี่แหละ น่าตกใจและน่ากลัวมากๆๆในวันนี้ การเมืองแบ่งขั้วชัดเจนแต่แปลกไม่ได้แบ่งในสภานะครับ แบ่งกันบนถนน ผมบอกว่าตลกดีนะฮ่าๆแปลกคือไทย ประชาธิปไตยแบบไทยๆเมื่อหลังรัฐประหาร2549 ก็มีรัฐบาลกลางเขามาบริหารประเทศ ผมจะไม่เอ่ยชื่อใคร เพราะผมจะบันทึกวิถีทางประชาธิปไตย ไม่ใช่ท่องจำตัวบุคคล วันเดือนปี ไม่มีประโยชน์ นายกคนกลางเป็นนายทหารยศพลเอก ที่น่าจับตาดูต่อเมื่อพรรคการเมืองพรรคหนึ่งจับมือกับอีกฝ่ายหนึ่งสลับขั้วมาเป็นรัฐบาล กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า นปช. ใส่เสื้อสีแดงว่าตัวเองเป็นชนชั้นไพร่เป็นสัญลักษณ์กลุ่มก็ออกมาต่อต้าน โดยมีการกล่าวหาว่ามีการช่วยเหลือจากทหารและอำมาตย์และบางคนพูดถึงเบื้องสูง จนต้องยุบสภาเลือกตั้งใหม่ 3 ก.ค.54 นี่คือจุดเปลี่ยนน่าจดจำเพราะผลการเลือกตั้ง คนที่กลุ่มนปช.สนับสนุนชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น เป็นนายกหญิงคนแรกและเป็นน้องสาวของนายกรัฐมนตรีที่ถูกรัฐประหารและต้องคดีอาญาโดยถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์แกภรรยาในการซื้อที่ดินย่านรัชดาจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศเข้าสู่บ้านเมืองสงบข้าพเจ้าก็ดีใจกับบ้านเมือง ต้องยอมรับรับว่าทั้งพี่และน้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจริงๆ ด้วยนโยบายที่ประชาชนชอบใจเงินถึงมือประชาชน บางคนเรียกว่านโยบาย ประชานิยม ถึงแม้จะมีกลุ่มนักวิชาการกล่าวว่ามีการทุจริตเชิงนโยบาย ความหมายคือทุจริตผ่านนโยบายประชานิยมนั่นแหละ แต่แล้ว ปลายปี พ.ย. 2555 ประชาธิปไตยแบบไทยมาอีกแล้วแม่เจ้า กลุ่ม กปปส.ย่อมาจากคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จุดชนวนเกิดจากรัฐบาลออกกฏหมายนิรโทษกรรมคนที่ทำผิดทางการเมืองทุกคนหรือเรียดกันว่าแบบสุดซอย ประเด็นสำคัญอยู่ที่คนคนเดียวที่มีส่วนได้เสียคืออดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นพี่ชายนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน มีส่วนได้ผลดีจากกฎหมายฉบับนี้ ดังนั้จึงเกิดการออกมาประท้วงเพื่อให้ถอนหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าว จนรัฐบาลตัดสินใจยกเลิกกฎหมายดังกล่าว คิดว่าจะจบแต่คุณพระช่วยไม่จบครับมีการชุมนุมต่อเปลี่ยนเป็นขับไล่รัฐบาลโดยกล่าวว่าเป็นระบอบ........ ข้าราชการเป็นผู้รับใช้นักการเมือง ในที่สุดรัฐบาลประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 ที่น่าสังเกตผลการเลือกตั้งนายกที่ประกาศยุบสภา ชนะการเลือกตั้ง แต่แล้วศาลรัฐธรรมนูญตัดสินการเลือกตั้งเป็นโมฆะเพราะว่ามีการขัดขวางการเลือกตั้งจากกลุ่ม กปปส.ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร มีคะแนนไม่ประสงค์ลงคะแนนประมาณ5 % ของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งจากผู้มาใช้สิทธิ์และมีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งไม่ถึง50% และเหตุการณ์สำคัญอีกอย่างคือหลังจากนั้น ประมาณต้นเดือน พ.ค. 57 นายกรัฐมนตรีถูกตัดสินคดีที่ฟ้องโดยข้าราชการประจำระดับสูงคนหนึ่งเมื่อคราวเข้าดำรงตำแหน่งนายกใหม่ 2 ปีที่ผ่านมา และคดีการทุจริตประพฤติมิชอบในระบบราชการ เช่น โครงการจำนำข้าว รัฐขาดทุน ชาวนาได้เงินช้า บางคนผูกคอตายกล่าวคือคดีนายกรัฐมนตรีแทรกแซงโยกย้ายข้าราชการประจำเลาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี และย้ายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาแทนตำแหน่งดังกล่าวเพื่อเปิดตำแหน่งว่างของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ญาติได้มีโอกาสรับตำแหน่งดังกล่าวโดยศาลปกครองสูงสุดเป็นผู้ตัดสินและศาลรัฐธรรมนูญก็ตัดสินว่าผิดจริงมีมติให้พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ร่วมประชุมโยกย้ายดังกล่าวรวม 10 คน และปปช.เป็นผู้ตัดสินชี้มูลความผิดโครงการรับจำนำข้าวในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีไม่กำกับดูแลปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตทำให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐ ที่หนักเพราะความเป็นนากรัฐมนตรีนั้นพ้นเพราะคดีการโยกย้ายข้าราชการแต่คดีจำนำข้าวปปช.ส่งเรื่องให้ วุฒิสภาถอดถอนจากตำแหน่งและเพิกถอนการยุ่งเกี่ยวทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี และรอผลว่าต้องดำเนินคดีทางอาญาหรือไม่ต่อไป และมีเหตูการณ์สำคัญอีกคือประธานวุฒิสภาถูกชี้มูลความผิดการเสนอแก้กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีโดยมี สส.เสีบยบัตรใช้สิทธฺ์แทนกันและเป็นการเร่งรีบแก้กฎหมาย ตำแหน่งประธานวุฒิสภาต้องหยุดการปฏิบัตรหน้าที่ หลังจากนั้นช่วงนี้มีการประชุมวุฒิสภาและมีการเสนอชื่อรองประธานสภาขึ้นเป็นประธานสภา โดยยังไม่มีการโปรดเกล้า เพราะยังไม่แน่ใจในข้อกฎหมายว่า รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีก็ยังไม่ไดโปรดเกล้าเป็นนายกเช่นกัน โอ้ล่ะพ่อ ทางกปปส.ก็ต้องการให้ประธานวุฒิคนใหม่เสนอชื่อนายกคนกลาง ฝ่ารัฐรักษาการ ก็ให้ กกต.เดินหน้าจัดการเลือกตั้ง ในอดีตพฤษาทมิฬ เิดวันที่ 17-18-19 ปี 2535 ข้าพเจ้าเป็นนักเรียนมัธยมปีที่ 3 ปี 2557 ไม่อยากจะคิดถึงอดีตประวัติศาสตร์มีไว้เรียนเพื่อปรับปรุงแก้ไขเรื่องที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้นอีกถ้าดีและนำมาปฏิบัติต่อ โปรดติดตามตอนต่อไป

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

สังคมไทยก่อน-หลัง 19 ก.ย.49

ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในสังคม ก่อน-หลัง 19 ก.ย.49 ข้าพเจ้าเห็นความเปลี่ยนแปลง อย่างไม่เคยเห็นหรือศึกษาเจอในอดีตว่ามีเหตุการณ์ เหมือนช่วงนี้ เกิดขึ้นมาก่อน อนึ่งข้าพเจ้า จบปริญญาตรีเอกประวัติศาสตร์ ศึกษามาพอเข้าใจระดับหนึ่ง สิ่งที่ข้าพเจ้าวิเคราะห์ เห็นปัญหาความแตกแยกในสังคมไทยช่วงนี้คือ การแย่งชิงอำนาจสูงสุดในประเทศ เป็นเป้าหมายหลัก จึงมีผู้นำและผู้ตามเกิดขึ้นมา 2 กลุ่ม เรียกชื่อตังเองว่า กลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย ใช้สัญลักษณ์คือใส่เสื้อสีเหลือง และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ใช้สัญลักษณ์คือใส่เสื้อสีแดง ก่อน 19 ก.ย.49 กลุ่มเสื้อแดงมีผู้นำมีอำนาจ กลุ่มเสื้อเหลืองก็ออกมาชุมนุมประท้วงตามสถานที่ต่างๆเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหลายเหตุการณ์ เช่นการไปชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ อื่นๆ จนวันที่ 19 กย.49
จึงมีการรัฐประหาร โดยผู้นำทหาร แต่งตั้งนายกฯ ชั่วคราว แล้วคืนอำนาจให้รัฐสภา เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และฝ่ายกลุ่มคนเสื้อแดง สูญเสียอำนาจผู้นำ โดยได้ผู้นำที่เคยเป็นฝ่ายค้านเป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีเสียงสนับสนุนจากอดีตพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลกลุ่มหนึ่ง เรียกว่าสลับขั้วทางการเมือง หลังจากนั้น กลุ่มคนเสื้อแดงก็ออกมาชุมนุมประท้วงตามสถานที่ต่างๆ เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหลายเหตุหารณ์ เช่น การเผาตึกที่สี่แยกราชประสงค์ มีการเสียชีวิตของบุคคลทั้งประชาชนและทหาร ต่างจังหวัดมีการเผาศาลากลางบางจังหวัดเช่น อุดร ขอนแก่น ถือเป็นวันทางประวัติศาสตร์วันหนึ่ง ของการเมืองไทย และต่อมาก่อมีการวางระเบิด ยิงอาวุธสงคราม อย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ผู้เขียนบันทึกอยู่นี้ เหตุการณ์ก็กำลังเดินหน้าต่อสู้ไปเรื่อยๆด้วยวิธีการต่างๆที่คนไทยทั่วไป ไม่รู้ว่าความจริงคืออะไร และจะจบลงเมื่อไร แต่ผู้เขียนขอวิงวอนว่าไม่ว่าใครจะมีอำนาจสูงสุดเพียงใด หากทำกรรมก็ต้องรับกรรมทุกคน ทำกรรมดีก็รับผลดี ทำกรรมชั่วก็ต้องรับผลไม่ดี อำนาจไม่สามารถอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งตลอดไปได้ เพราะความจริงคือ เกิดมาทุกคนต้องตาย
ตายแล้วเอาอะไรไปได้ไหม ไม่มีใครรู้ แต่ที่ทุกคนรู้คือ ตายแล้วไม่สูญหายคือ ความดี ที่ไม่มีวันตาย จนเป็นประวัติศาสตร์ที่ชาติจารึก ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา วงศ์ตระกูลที่เหลืออยู่ ก็ภูมิใจและสืบทอดความดีตลอดไป วันนี้ท่านผู้อ่านจะสร้างประวัติศาสตร์ที่ดีให้ตนเอง หรือสร้างประวัติศาสตร์ให้ตนเองว่าครั้งหนึ่ง ท่านได้ร่วมทำลายชาติ ด้วยวิธีการที่ผู้นำทั้สองฝ่ายเป็นผู้บอกให้ทำ ถ้าประชาชนทั้งสองฝ่ายหยุดทำตามเขา ผู้นำเหล่านั้นไม่มีผู้ตาม ก็หมดกำลังลงเอง นี่แหละวิธีการทำให้สังคมไทยสงบ ตั้งทำโดยคนไทยทั้งสองกลุ่ม เท่านั้น ผู้นำเขาไม่มีวันหยุดแน่นอน เพราะคนเหล่านั้น เขาไม่มีธรรมะในใจแล้ว เหตุการณ์ประเทศไทยจึงเป็นเฉกเช่นปัจจุบัน ปัจจุบันโจร ผู้ร้ายขโมย วัวควายหมดแล้ว เปลี่ยนเป็นวัวควายขโมยกินบ้านเมืองคนไทย

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา
ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นครราชสีมา เขต 6
THE FACTORS AFFECTING THE ACHIEVEMENT OF EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATION BASED ON PERCEPTION OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND TEACHERS IN NAKHONRATCHASIMA EDUCATIONAL OFFICE SERVICE AREA 6

สิบตำรวจโทนพกร พุทธา *
รองศาสตราจารย์ ดร. วิเชียร ชิวพิมาย **

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัย ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและตำแหน่ง
การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำนวน 334 ตัวอย่างและ นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ค่า t-test และ F-test/ANOVA และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวีธีการ LSD โดยตัวแปรอิสระของงานวิจัยนี้คือ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและตำแหน่ง ตัวแปรตาม คือ ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำนวน 5 ด้าน คือ (1) ด้านบุคลิกภาพ (2) ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร (3) ด้านผู้นำทางวิชาการ (4) ด้านภาวะผู้นำ (5) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทั้ง 5 ด้านมีผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับ มาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร
2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จใน การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำแนกตามตำแหน่งระหว่างผู้บริหารกับครู โดยรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้านภาวะผู้นำ ด้านผู้นำทางวิชาการและด้านคุณธรรม จริยธรรม พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารและครู โดยรวมและรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานแก่พสกนิกร เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2512 กล่าวว่า “ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดีไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมดการทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดีหากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้” (สำนักงานสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, 2550: 24) ซึ่งสอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบันที่สังคมเกิดความแตกแยกวุ่นวายท่ามกลางภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ความผันผวน ทางการเมืองความผุกร่อนทางวัฒนธรรมและศีลธรรมสังคมเริ่มตื่นตัวที่จะติดตามความเปลี่ยนแปลงทั้งทางบวกและทางลบของประเทศชาติอย่างใกล้ชิด (อนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543: 2) ยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์และเป็นสังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วการบริหารจัดการในทุกวิชาชีพจำเป็นต้องปรับจึงจะนำไปสู่ความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้า (ธีระ รุญเจริญ, 2543: 1) การศึกษาของชาติดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของโรงเรียนและคุณภาพของโรงเรียนจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคลากรในโรงเรียนคือผู้บริหารและครูในโรงเรียนเป็นหลัก ผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องเป็นหลักในการที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (วิชาญ เงางาม, 2551: 1) การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้คนมีความรู้และคุณสมบัติต่างๆที่จะช่วยให้คนนั้นอยู่รอดในโลกได้ เป็นประโยชน์ต่อตนเองครอบครัวและสังคมส่วนรวม ดังนั้นจะต้องเริ่มต้นจากการให้คนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพรัฐบาลจึงได้มีการปฏิรูปการศึกษาโดยมีความมุ่งหมายที่จะจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นคนดี มีความสามารถและมีความสุข(ประยงค์ สวัสดีพุทรา, 2551: 1) ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายด้านศาสนาสังคมการสาธารณสุขการศึกษาและวัฒนธรรม มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมจัดให้มีแผนการศึกษากฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและยึดมั่นในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (สภาร่างรัฐธรรมนูญ, 2550: 32) และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 บังคับใช้ตั้งแต่ 8 ธันวาคม 2545 มีผลให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา อันเป็นภาระสำคัญของชาติ มีสาระสำคัญทั้งสิ้น 9 หมวด โดยเฉพาะหมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษาเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนที่พึงประสงค์ คือ ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข (วิเชียร ชิวพิมาย, 2552: 13) สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักคือเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มาตรา 9 การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักคือ (2) มีการขยายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาตรา 39 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารงานทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่โดยตรง(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, 2545: 5) จากสภาพปัญหาสังคมหวังพึ่งการศึกษาจะช่วยแก้ปัญหานั้น สอดคล้องกับการสังเคราะห์งานวิจัยของ สต๊อกดิล 1981 ผู้นำที่มีประสิทธิผล มีลักษณะ 10 ประการ 1) ความรับผิดชอบ 2) มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ 3) มีความแข็งแรง 4) มีความเพียรพยายาม 5)รู้จักเสี่ยง 6) มีความคิดริเริ่ม 7) มีความเชื่อมั่นในตนเอง 8) มีความสามารถที่จะจัดการกับความเครียด 9) มีความสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อคนอื่น 10) มีความสามารถที่จะประสานพลังเพื่อการทำงานให้สำเร็จ (วิเชียร ชิวพิมาย และสุภัทรา เอื้อวงศ์, 2552: 12) ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 เบอร์นาดและราล์ฟ สต๊อกดิลได้พัฒนาแนวคิดเดิมของสต๊อกดิล โดยนำคุณลักษณะ 300 ชนิด มาสรุปเป็นคุณลักษณะและทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของผู้นำ มีคุณลักษณะดังนี้ คือการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ตื่นตัวต่อสภาพแวดล้อมทางสังคม ทะเยอทะยานและใช้ผลสัมฤทธิ์เป็นตัวนำรักษาสิทธิ์ ร่วมมือ การตัดสินใจ การยอมตาย ปมเขื่อง(ต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น) คล่องแคล่ว (ระดับการตื่นตัวสูง) มานะอดทน เชื่อมั่นตนเอง ใจกว้างต่อความเครียด เต็มใจรับผิดชอบ (สุภัทรา เอื้อวงศ์, 2552: 12) นอกจากนี้ คีธ เดวีส (Keith Davis,1972: 130) ได้ศึกษาคุณลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จดังนี้ 1) มีสติปัญญาดี 2) มีความชัดเจนและกว้างในสังคม 3) มีแรงกระตุ้นภายใน 4) มีทัศนคติมนุษยสัมพันธ์สอดคล้องกับงานวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรีคือ ปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยค้ำจุน (วันทนา ชมดวง, 2551: 2) สอดคล้องกับงานวิจัย คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา อำเภอชุมพวง สรุปว่า การปฏิรูปการศึกษาจะประสบผลสำเร็จย่อมต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง คือ สถานศึกษา ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่น รวมทั้งทรัพยากรอื่นที่จำเป็นและผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการบริหารจัดการศึกษา ที่จะนำองค์กรสู่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (สุวโรจน์ ยิ่งธนฐานนันท์, 2551: 2) สอดคล้องกับงานวิจัยปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน คือปัจจัยด้านองค์กรและปัจจัยด้านอาจารย์ (ศรุดา ชัยสุวรรณ, 2549: 38) สอดคล้องกับงานวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานวิจัยในชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 6 คือ ด้านความรู้และทักษะการวิจัย ด้านงบประมาณ ด้านบรรยากาศ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านแรงจูงใจในการทำวิจัยด้านสถานภาพ ด้านการปฏิบัติงาน (ราชาวดี สายแก้วลาด, 2551: 2) สอดคล้องกับทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์เบอร์ก คือ ปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยค้ำจุนโดยประยงค์ สวัสดีพุทรา ได้นำแนวคิดมาประยุกต์ทำงานวิจัยพบว่าสองปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา (ประยงค์ สวัสดีพุทรา, 2551: บทคัดย่อ) สอดคล้องกับงานวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารระบบสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา คือ ลักษณะของสภาพแวดล้อม ลักษณะของบุคลากร นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน (รัฐเขต เชื้อมหาวัน,2551: บทคัดย่อ) สอดคล้องกับงานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้านผู้นำทางวิชาการ ด้านความเป็นผู้นำ ด้านคุณธรรมจริยธรรม (วิชาญ เงางาม, 2551: บทคัดย่อ)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 6 มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในช่วงเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่พ.ศ. 2542 มีกฎหมายการศึกษามีการปฏิรูปการศึกษา กอปรกับปัญหาสังคมในปัจจุบัน การจัด การศึกษาผลผลิตและผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพและโอกาสทางการศึกษายังไม่ทั่วถึงจึงมีการปฏิรูปการศึกษารอบสองและยังต้องปรับปรุงคุณภาพการศึกษา จะเห็นได้จากผลการประเมินของสำนักรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา (สมศ. ) มีโรงเรียนไม่ผ่านมาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 50 (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 6, 2552: 2) ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาคือ กลไกสำคัญในการพัฒนาการศึกษาให้มีมาตรฐาน จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 6 เพื่อนำผลการวิจัยเป็นข้อสนเทศไปพัฒนาปรับปรุงผู้บริหารสถานศึกษาให้จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป

คำถามการวิจัย
มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 6

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.3.1 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6
1.3.2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและตำแหน่ง
ขอบเขตของการวิจัย
1.5 1. การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 ใน 5 ด้าน คือ 1) ด้านบุคลิกภาพ 2) ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร 3) ด้านผู้นำทางวิชาการ 4) ด้านภาวะผู้นำ 5) ด้านคุณธรรมจริยธรรม
1.5.2. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 188 คนและครูผู้สอนจำนวน 1,836 คน รวมทั้งสิ้น 2,024 คน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 6, 2552: 4)
1.5.3. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ (อ้างถึงในธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2550: 47) โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจงและสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 188 คนและครูผู้สอน 146 คน รวมทั้งสิ้น 334 คน
1.5.4. ตัวแปรที่ศึกษา
1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและตำแหน่ง
2) ตัวแปรตาม ได้แก่ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำนวน 5 ด้านคือ (1) ด้านบุคลิกภาพ (2) ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร (3) ด้านผู้นำทางวิชาการ (4) ด้านภาวะผู้นำ (5) ด้านคุณธรรมจริยธรรม

กรอบแนวคิด
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 นำปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4 ของวิชาญ เงางาม สรุปได้ 5 ด้าน คือ 1) ด้านบุคลิกภาพ 2) ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร 3) ด้านผู้นำทางวิชาการ 4) ด้านภาวะผู้นำ 5) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม (วิชาญ เงางาม, 2551: บทคัดย่อ) มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้
บรรณานุกรม
กนกอร ยศไพบูลย์. (2546). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรมวิชาการ. (2543). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กวี วงศ์พุฒ. (มีนาคม-เมษายน 2536). “หัวหน้าที่ดีต้องมีความคิดริเริ่ม.” วารสารเพิ่มผลผลิต. 5(32)
กาญจนา นาคสกุล. (กรกฎาคม 2546). “ปฏิรูปการศึกษากับปัญหาจริยธรรมในสังคมไทย.” วารสารวิชาการ. 6(7)
เกศนา พันทาเดช. (2543). การศึกษาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดกำแพงเพชร นครเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบริหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
โกศล ใสขาว. (2541). ความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียน
มัธยมศึกษาเขตการศึกษา 4. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คุรุสภา. (2548). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2548). “คำกล่าวเปิดงาน 58 ปีของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ.” (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2552, จาก http://www.edozones.com
ฉลอง มาปรีดา. (2537). คุณธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตว์.
ฉันทนิช อัศวนนท์. (2543). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2540). คู่มือการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
ณรงค์ แย้มประดิษฐ์. (2541). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 6. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ดวงสมร กลิ่นเจริญ. (2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ดัชนี ยศพล. (2551). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการกับสมรรถนะตามเกณฑ์มาตรฐานของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพ : บริษัท วี. อินเตอร์พริ้น
ธีรพนธ์ คงนาวัง. (กุมภาพันธ์ 2545). “ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคปฏิรูป”. วารสารวิชาการ.5(2).
ธีระ รุญเจริญ. (2543). ลักษณะนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. เอกสารประกอบการบรรยาย.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
. (2548). สู่ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง
. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารสถานศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.
กรุงเทพฯ : บริษัทแอล.ดีเพรส จำกัด.
นพดล เวชสวัสดิ์. (2548). บุคลิกภาพสู่ความเป็นผู้นำ.กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด
นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2535). หลักการบริหารการศึกษาเพื่อช่วยพัฒนาความเข้าใจระหว่างครูกับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : อนงค์ศิลป์.
นวลลออ สุภาผล. (2547). ทฤษฎีบุคลิกภาพ. ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร
นิพนธ์ กินาวงษ์. (2543). หลักบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : ตระกูลไทย.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2546). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : เซ็นทรัลเอกเพรส.
ประพันธ์ เหล็กกล้า. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ประยงค์ สวัสดีพุทรา. (2551). ความพึงพอใจในปัจจัยการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ปราชญา กล้าผจัญ. (2544). คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : เยลโลการพิมพ์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
พัฒนา อ่ำท้าว. (2548). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอหนองเรือ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. รายงานการศึกษาอิสระปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิภพ วชังเงิน. (2545). จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น (1997).
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
. (2547). ภาวะผู้นำและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
มาลี พิญญศักดิ์. (2546). การพัฒนาระบบสาระสนเทศเพื่อใช้ในงานบริหารของศูนย์บริการ
การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : ธนรัชการพิมพ์ จำกัด.
รัฐเขต เชื้อมหาวัน. (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารระบบสารสนเทศ ของผู้บริหารสถานศึกในสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ราชบัณฑิต. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทนานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น จำกัด 2546.
ราชาวดี สายแก้วลาด. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
รุ่ง แก้วแดง. (2545). กอล์ฟนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
วิจิตร อาวะกุล. (2542). เทคนิคมนุษย์สัมพันธ์. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
วิชาญ เงางาม. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
วิเชียร ชิวพิมาย. (2544). คุณลักษณะผู้นำในการสร้างทีมงาน. เอกสารการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
. (2549). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องภาวะผู้นำ. ทฤษฎีและปฏิบัติ Richard L. Daft 1999. หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
. (2552). การบริหารงานวิชาการ. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรปริญญาโท
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
วิเชียร ชิวพิมาย และสุภัทรา เอื้อวงศ์. (2552). การวิจัยการบริหารการศึกษา. เอกสารประกอบการบรรยาย. หลักสูตรปริญญาโทสาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
วิโรจน์ สารัตนะ. (2542). การบริหารหลักการทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.
ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2550). ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ศิริชัย สมพงษ์. (2544). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 จาก http//202.14.117.17/Dcms/main.nsp.
ศิริพงษ์ เศาภายน. (2547). หลักการบริหารการศึกษา: ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บริษัท บุ๊คพอยท์ จำกัด.
ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ : บริษัทสไตล์ครีเอทีฟ เฮ้าส์ จำกัด.
สงวน เรียนไธสง. (2544). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอ บ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สงวน นิตยารัมภ์พงษ์ และคณะ. (2540). ภาวะผู้นำต่ออนาคตไทย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ไทย.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2550). รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สมพิศ โห้งาม รัตนา กาญจนพันธ์ และพอตา บุตรสุทธิวงศ์. (ม.ป.ป.). การบริหารการศึกษา.
School Administration. หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
สมภูมิ ระวิวรรณ. (2542). การศึกษาการใช้ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). เอกสารประกอบการศึกษาด้วยตนเอง หลักสูตรผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2540). เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารสถานศึกษาของคุรุสภา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
. (2541). แบบพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์การดำเนินงานของภาควิชาบริหารการศึกษาใน การปฏิรูปการบริหารการศึกษาในการปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวนกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานสารานุกรมไทย. (2550). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 ครองราชย์ครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์ ทีแอลที จำกัด.
สุชาดา รังสินันท์. (2548). การบริหารการเปลี่ยนแปลง Changemanaagement.หน่วยที่ 10 ). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
สุทัศน์ อนุพันธ์. (2542). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในทัศนะ
ของกรรมการโรงเรียนและครู อาจารย์ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดในเขตการศึกษา 11. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บุคส์ลิงค์.
สุนทร ศรีวัฒนพงศ์. (2551). ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารงานโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุภัทรา เอื้อวงศ์ (2552). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องหลักการและทฤษฎีการบริหาร.
หลักสูตรปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุรีย์ สุเมชีนฤมิตร. (2531). ทักษะและพฤติกรรมการบริหารของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติก่อนและหลังการอบรม. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวโรจน์ ยิ่งธนฐานนันท์. (2550). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอชุมพวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 7. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ์. (2548). ภาวะผู้นำกับการบริหาร. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลอีสาน. แผนกเอกสารการพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ. (2549). ก้าวเข้าสู่การเลื่อนวิทยฐานะผู้บริหารการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศ. กรุงเทพฯ : อี เค บุคส์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2539). ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารการศึกษา. ในเอกสารประกอบคำสอน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
แสวง ชาญเขว้า. (2551). คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครราชสีมาเขต 7. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
อมรชัย ตันติเมธ และคณะ. (2534). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำกับการศึกษาไทย รายงาน การศึกษา การพัฒนาความเป็นผู้นำทางการบริหารการศึกษาภาควิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
DaVanport, John Dinocia. (1984). An Analysis of Perceptions of Instructional
Leadership Behavior. Dissertation Abstracts : Internation al. 46 (03).
Dempster. (2001). Leaderhip and Development. New York : Mc Graw-Hill.
Lewis, Norma A. (1984). International Leadership Styles of Effective Elementary School Principals in Texas. Dissertation Abstrach : International, 45(03), 709-A
Liv Chigm-Jen (1985). An Identification of Principals Instruction Behavior in
Effective High School. Dissertation Abstracts : International, 46(03) : 598-A
Mildred Petricia. (2004). A Study of the Relationship Between Transformational
Leadership and Organizational Culture. New York : U.S.A.
Steers, Richard M. (1977). Org antirational Effectiveness: A Behavioral View. Santa Monica, California: Goody Carr Publishing Company, Inc.

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิรูปการศึกษาไทย

คนที่คิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษาทุกท่านที่เคารพ ล้วนเป็นคนที่มีความปารถนาดีอยากเห็นคนไทยมีการศึกษาที่ดี เพื่อช่วยกันพัฒนาบ้านเมืองเรา ข้าพเจ้าเป็นอีกหนึ่งความคิด ที่เป็นผู้ปฏิบัติจริง จึงเห็นปัญหาที่แท้จริงอยู่ว่าการเปลี่ยนโครงสร้างหลักสูตรไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องแน่นอน ข้าพเจ้าผ่านการเปลี่ยนหลักสูตรมาตั่งแต่หลักสูตร 2521 เป็นต้นมา เปลี่ยนมากี่ครั้งแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ คน มีอยู่ 4 ฝ่าย ที่เป็นผู้ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการศึกษา กล่าวคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง
chang คือ การเปลี่ยนแปลง ทั้ง 4 ฝ่าย ต้องเปลี่ยนแปลงร่วมกัน การศึกษาคือการสร้างชีวิตคนคนหนึ่งให้มีอยู่ มีกิน เป็นคนเก่งคือคนที่แก้ปัญหาด้วยตนเองได้(สำเริง บุญเรืองรัตน์.2553) ดังนั้นต้องเปลี่ยนดังนี้
ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวก มีคุณธรรม จริยธรรม เน้นความซื่อสัตย์ มีความรู้ความสามารถในการบริหาร มีภาวะผู้นำสูง มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีบุคลิกภาพที่ดี (นพกร พุทธา.2553)
ครูต้องเป็นผู้มีความรู้ดี เสียสละ เอาใจใส่ศิษย์สอนเหมือนสอนลูกตัวเอง เต็มเวลา เต็มความสามารถ เต็มศักยภาพของผู้เรียน สอนตามความแตกต่างของผู้เรียน ด้วยเทคนิคการสอนที่หลากหลาย สำคัญที่สุดต้องทำให้ผู้เรียนศรัทธาในตัวครู ผู้เรียนต้องเรียนด้วยความตั้งใจ ขยัน รับผิดชอบ มีความตระหนักว่าการศึกษาคืออาหารบำรุงร่างกายให้มีชีวิตรอดและช่วยให้แก้ปัญหาในชีวิตได้ด้วยตนเอง การศึกษาจะทำให้ชีวิตมีความสุขในอนาคต ผู้ปกครองต้องเสียสละเวลาและเงิน สนใจการบ้าน ร่วมแก้ปัญหาชีวิตให้ผู้เรียน เป็นทั้งเพื่อนเล่น เป็นทั้งผู้ปกครอง
ส่วนผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไป มีหน้าที่คือสนับสนุน ควบคุม ติดตาม แก้ไขปัญหาตามที่ 4 ฝ่ายเสนอมาอย่างรวดเร็ว ตัดการใช้เส้นสายอุปถัมภ์ทุกเส้นทางให้หมดสิ้น กระจายการสนับสนุนให้ทั่วถึงทุกโรงเรียน ปราบปรามการทุจริตเป็นสำคัญ ไม่มีคอรัปชั่น เมืองไทยไม่มีปัญหา
สรุป ไม่มีฝ่ายใดในเมืองไทยจะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างแท้จริง ต้องเป็น 4 ฝ่ายนี้ นี่แหละความจริงวันนี้

ข้าพเจ้าอดีตเป็นผู้เรียน ปัจจุบันเป็นผู้ปกครอง เป็นครูผู้จบปริญาโทบริหารการศึกษา อนาคตเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ขอนำเสนอ ขอขอบคุณ

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สังคมไทยวันนี้( 24 พ.ค.2553)

ข้าพเจ้าเป็นคนไทยคนหนึ่งที่อยู่ในวงการหลายวงการ ทุกวงการในเมืองไทยมีสิ่งหนึ่งทีเหมือนกันคือ ความไม่ยุติธรรม คนมีอำนาจมากกว่ากดขี่ผู้มีอำนาจน้อยลงไปตามลำดับชั้น อำนาจเงินซื้อสิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง ผู้ใดที่ต่อต้าน ขัดแย้งจะเกิดปัญหากับตนเอง จนคนดีต้องหลบเพื่อเอาตัวรอด คนชั่วมีอำนาจครองเมืองมากขึ้นตามลำดับชั้น ใครแก้ได้ให้เป็นเทวดา

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การปฏิบัติตัวข้าราชการชั้นผู้ปฏิบัติ

ต้องบอกตัวเองว่า ใช่ครับพี่ ดีครับท่าน เหมาะสมครับนาย

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552